วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆ
                วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเว็บไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทานและอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก     และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?  
กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

            สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อน      ในการเรียนการสอนวันนี้
             อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ Present  เป็นกลุ่มแรก
             กลุ่มข้าพเจ้าได้ ไปเล่านิทานเรื่องเจ้าลิงสีม่วง  ให้น้องอ้อ น้องยังไม่ได้เข้าโรงเรียน  เมื่อข้าพเจ้าเล่าน้องตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเมื่อข้าพเจ้าเล่า เสร็จได้ตั้งคำถาม ถามน้องว่า
        1.นิทานเรื่องนี้สนุกไหมคะ   น้องพยัคหน้าแล้วตอบว่า  สนุก
        2.รู้ไหมคะทำไมเจ้าลิงถึงเป็นสีม่วง   น้องส่ายหน้า  แล้วข้าพเจ้าก็ได้อธิบายให้น้องฟังว่าเจ้าลิงหิวมากจึงทานผลไม้ที่ไม่รู้จักโดยไม่คิดเสียก่อน  ว่ามีพิษหรือไม่
        3.ในนิทานเรื่องนี้น้องอยากเป็นตัวละครตัวไหน
น้องตอบว่าอยากเป็นหมอ
         4.ทำไมน้องถึงอยากเป็นหมอ
น้องตอบว่า  น้องชอบหมี  เพราะว่าในตัวละครเจ้าหมีมีอาชีพเป็นคุณหมอ

อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่มข้าพเจ้าคือ การ Persent  งานต้องแนะนำตัวและบอกสถานที่ วัน  เวลา ที่ไปเล่านิทาน และควรสังเกตพฤติกกรมเด็กด้วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อน วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Power point  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1.
การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
        •
การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
        •
เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
        •
การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
        •
อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
        •
ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
        •
ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2.
การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  เช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้ เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้, ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่า

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2554

        สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆ สำหรับครั้งนี้มีเพื่อนๆเข้าเรียนน้อย บรรยากาศในชั้นเรียนก็สนุกสนานดีค่ะ อาจารย์ให้ เขียนภาษาท้องถิ่นประจำจังหวัดบ้านเกิด

บ้านฉัน "พูดจาภาษาตราด"

เป็นสำเนียงเสียงเหน่อค่อนข้างมาก
สหงาด แปลว่า มาก
ฮิ แปลว่า เป็นคำลงท้ายประโยค
เหงาะ แปลว่า เงาะ
สัมมะหรด แปลว่า สัปปะรด
หวั้ด แปลว่า วัด
ฝนแร้ง แปลว่า ฝนที่เพิ่งหยุดตก
โฟรง แปลว่า ถัง
นั่งแอบ แปล่ว่า นั่งข้างๆ
ปากทาง แปลว่า ปากซอย
แก๊ะ แปลว่า แกะ
หมึ๊ก แปลว่า ปลาหมึก  เป็นต้น

      จากนั้นอาจารย์ให้ไปดูงานวันปีใหม่ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม มีการแสดงของน้องๆ และมีการแลกเปลี่ยนของขวัญกัน
      แต่ดิฉันไปดูงานการจัดงานปีใหม่ให้เด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนเสนานิคม 2
(ศูนย์ทนายลักษ์)