วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆ
                วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเว็บไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทานและอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก     และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?  
กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

            สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อน      ในการเรียนการสอนวันนี้
             อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ Present  เป็นกลุ่มแรก
             กลุ่มข้าพเจ้าได้ ไปเล่านิทานเรื่องเจ้าลิงสีม่วง  ให้น้องอ้อ น้องยังไม่ได้เข้าโรงเรียน  เมื่อข้าพเจ้าเล่าน้องตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเมื่อข้าพเจ้าเล่า เสร็จได้ตั้งคำถาม ถามน้องว่า
        1.นิทานเรื่องนี้สนุกไหมคะ   น้องพยัคหน้าแล้วตอบว่า  สนุก
        2.รู้ไหมคะทำไมเจ้าลิงถึงเป็นสีม่วง   น้องส่ายหน้า  แล้วข้าพเจ้าก็ได้อธิบายให้น้องฟังว่าเจ้าลิงหิวมากจึงทานผลไม้ที่ไม่รู้จักโดยไม่คิดเสียก่อน  ว่ามีพิษหรือไม่
        3.ในนิทานเรื่องนี้น้องอยากเป็นตัวละครตัวไหน
น้องตอบว่าอยากเป็นหมอ
         4.ทำไมน้องถึงอยากเป็นหมอ
น้องตอบว่า  น้องชอบหมี  เพราะว่าในตัวละครเจ้าหมีมีอาชีพเป็นคุณหมอ

อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่มข้าพเจ้าคือ การ Persent  งานต้องแนะนำตัวและบอกสถานที่ วัน  เวลา ที่ไปเล่านิทาน และควรสังเกตพฤติกกรมเด็กด้วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อน วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Power point  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1.
การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
        •
การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
        •
เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
        •
การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
        •
อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
        •
ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
        •
ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2.
การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  เช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้ เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้, ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่า