วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อน วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Power point  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1.
การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
        •
การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
        •
เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
        •
การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
        •
อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
        •
ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
        •
ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2.
การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  เช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้ เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้, ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น